BUS++
Toggle navigation
รายละเอียดงานวิจัย
ดร.อธิพันธ์ วรรณสุริยะ
ดร.อธิพันธ์ วรรณสุริยะ
ชื่องานวิจัย(Article thai):
ชื่องานวิจัย(Article english):
ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์(Journal thai):
ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์(Journal english):
บทคัดย่อ (Abstract):
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของรายได้ รายจ่าย และเงินออมของครัวเรือนประเทศไทย และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของรายได้ รายจ่าย และเงินออมของครัวเรือนประเทศไทย เปรียบเทียบระหว่างภูมิภาค และเขตที่อยู่อาศัยเมือง-ชนบท ใช้ข้อมูลจากโครงการสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ในช่วงปี 2554 ถึง 2562 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าอัตราการเปลี่ยนแปลง ผลการวิจัยพบว่า ครัวเรือนไทยมีปัญหารายได้เพิ่มขึ้นไม่ทันกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.58 ในขณะที่รายจ่ายเฉลี่ยของครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.36 ครัวเรือนในกรุงเทพมหานครมีรายได้มากกว่าครัวเรือนในภูมิภาคอื่นๆ โดยมีค่าเฉลี่ยของรายได้ครัวเรือนเท่ากับ 47,609 บาท สูงกว่าค่าเฉลี่ยของรายได้ครัวเรือนทั้งประเทศซึ่งมีค่าเท่ากับ 25,258 บาท ในส่วนของค่าใช้จ่ายอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภค พบว่าทุกภูมิภาคมีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ยของการเพิ่มขึ้นทั้งประเทศเท่ากับร้อยละ 14.31 โดยครัวเรือนในกรุงเทพมหานครมีอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 35.81 สำหรับค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค มีค่าเฉลี่ยของการเพิ่มขึ้นทั้งประเทศเท่ากับร้อยละ 10.82 ครัวเรือนในกรุงเทพมหานครมีอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคมากที่สุดร้อยละ 32.89 เงินออมเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนทั้งประเทศมีค่าเท่ากับ 5,856 บาท ครัวเรือนในกรุงเทพมหานครมีเงินออมเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 13,988 บาท ครัวเรือนในเขตที่อยู่อาศัยเมืองและชนบทยังมีความแตกต่างกันในทุกมิติทั้งรายได้ รายจ่าย และเงินออม รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในเขตเมืองสูงกว่าในเขตชนบทกว่า 7,000 บาท อย่างไรก็ตามพบว่า ครัวเรือนในเขตเมืองมีรายได้เฉลี่ยลดลงร้อยละ 0.96 ในขณะที่ครัวเรือนในเขตชนบทมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.32 สำหรับด้านรายจ่าย ครัวเรือนในเขตเมืองมีรายจ่ายเฉลี่ยสูงกว่าในเขตชนบทกว่า 4,000 บาท แต่ครัวเรือนในเขตชนบทมีการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายร้อยละ 15.69 สูงกว่าในเขตเมืองที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.40 โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค ครัวเรือนในเขตชนบทมีการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายสูงถึงร้อยละ 27.85 เมื่อเปรียบเทียบกับครัวเรือนในเขตเมืองเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.81 สำหรับด้านเงินออม ครัวเรือนในเขตเมืองมีเงินออมสูงกว่าในเขตชนบทกว่า 2,700 บาท อย่างไรก็ตามพบว่า ครัวเรือนในเขตชนบทมีการออมเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.52 สวนทางกับครัวเรือนในเขตเมืองที่มีเงินออมลดลงร้อยละ 19.37 ในช่วงเวลาดังกล่าว
ผู้วิจัยร่วม(Authors):
อธิพันธ์ วรรณสุริยะ
ลิงค์ฐานข้อมูลที่เผยแพร่:
ลิงค์ฐานข้อมูล
ข้อมูลการเผยแพร่ (Journal Infomation)
เผยแพร่ระดับ:
ระดับชาติ_กลุ่ม2
ระดับชาติ (TCI)
ปีเผยแพร่:
2566
2567/2024
2566/2023
2565/2022
2564/2021
2563/2020
2562/2019
2561/2018
2560/2017
2559/2016
2558/2015
2557/2014
2556/2013
2555/2012
2554/2011
2553/2010
2552/2009
2551/2008
2550/2007
2549/2006
2548/2005
2547/2004
วันที่เผยแพร่:
วันที่ได้รัการอนุมัติ:
เลขที่ ISBN / ISSN / DOI:
ปีที่พิมพ์ - ฉบับที่ – หน้า:
×
Logout
คุณต้องการออกจากใช่หรือไม่