BUS++
Toggle navigation
รายละเอียดงานวิจัย
อาจารย์ ดร. ณัฐรฐนนท์ กานต์รวีกุลธนา
อาจารย์ ดร. ณัฐรฐนนท์ กานต์รวีกุลธนา
ชื่องานวิจัย(Article thai):
ชื่องานวิจัย(Article english):
ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์(Journal thai):
ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์(Journal english):
บทคัดย่อ (Abstract):
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในบริบทการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ และเสนอแนะแนวทางการบริหารความเสี่ยงสำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ โดยระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรม ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยสามารถสรุปเป็นกรอบแนวคิดของปัจจัยเสี่ยงในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ประกอบด้วยปัจจัยเสี่ยงด้านตลาด ปัจจัยเสี่ยงด้านเทคโนโลยี ปัจจัยเสี่ยงด้านความรู้ ปัจจัยเสี่ยงด้านความสามารถ และผลกระทบของประสิทธิภาพการพัฒนาโครงการและการศึกษาเชิงประจักษ์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งเก็บจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ในบริษัทรับจ้างพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือที่มีกำไรสูงสุด 15 บริษัทแรก จำนวน 300 ชุด และได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับมา 224 ชุด คิดเป็นร้อยละ 74.67 ของแบบสอบถามทั้งหมดการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) และโมเดลสมการโครงสร้าง (Structure Equation Model : SEM) ในการวิเคราะห์ข้อมูล จากผลการวิเคราะห์ทางสถิติผลการวิจัยพบว่าผลการวิเคราะห์ทางสถิติผู้วิจัยพบว่า ผลกระทบจากปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิภาพการพัฒนาโครงการบริบทการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือเกิดขึ้นสามารถอธิบายได้ ร้อยละ 77 (R2 = .77) โดยมีค่าน้ำหนักสัมพันธ์มาตรฐาน (Standardized Coefficients หรือ Beta: β) เท่ากับ 0.88 โดยปัจจัยด้านความเสี่ยงในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (NPD Risk) ที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการพัฒนาโครงการผลิตภัณฑ์ใหม่ (NPD Performance) มากที่สุดได้แก่ ความเสี่ยงด้านความสามารถของผู้พัฒนา ซึ่งรองลงมาได้แก่ ความเสี่ยงด้านการนำความรู้เฉพาะด้าน และการควบคุม/รักษาข้อมูลที่สำคัญไปใช้ ความเสี่ยงด้านความซับซ้อนทางเทคนิค ความเสี่ยงด้านการวิเคราะห์ตลาด ความเสี่ยงด้านการจัดการความต้องการของทางผู้ว่าจ้าง และความเสี่ยงด้านนโยบายและกฎหมาย ตามลำดับ ดังนั้น การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสามารถของผู้พัฒนาเป็นอันดับแรกเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงและสร้างโอกาสทางธุรกิจให้เกิดขึ้นในอนาคตต่อไป
ผู้วิจัยร่วม(Authors):
1.จุฑาทส อุตตรนคร 2.อรพรรณ คงมาลัย 3.ณัฐรฐนนท์ กานต์รวีกุลธนา
ลิงค์ฐานข้อมูลที่เผยแพร่:
ลิงค์ฐานข้อมูล
ข้อมูลการเผยแพร่ (Journal Infomation)
เผยแพร่ระดับ:
ระดับชาติ_กลุ่ม1
ระดับชาติ (TCI)
ปีเผยแพร่:
2560
2568/2025
2567/2024
2566/2023
2565/2022
2564/2021
2563/2020
2562/2019
2561/2018
2560/2017
2559/2016
2558/2015
2557/2014
2556/2013
2555/2012
2554/2011
2553/2010
2552/2009
2551/2008
2550/2007
2549/2006
2548/2005
วันที่เผยแพร่:
วันที่ได้รัการอนุมัติ:
เลขที่ ISBN / ISSN / DOI:
ปีที่พิมพ์ - ฉบับที่ – หน้า:
×
Logout
คุณต้องการออกจากใช่หรือไม่