BUS++
Toggle navigation
รายละเอียดงานวิจัย
ดร.อธิพันธ์ วรรณสุริยะ
ดร.อธิพันธ์ วรรณสุริยะ
ชื่องานวิจัย(Article Name):
บทคัดย่อ (Abstract):
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออมของครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมของครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม และสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบลำดับ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41 – 50 ปี มีสถานภาพโสด ส่วนใหญ่มีบุตรจำนวน 1 – 2 คน มีสมาชิกในครัวเรือน 3 - 4 คน ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพส่วนใหญ่ของหัวหน้าครัวเรือนเป็นพนักงานหรือลูกจ้างบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน 25,000 – 49,999 บาท รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนน้อยกว่า 25,000 บาท ครัวเรือนส่วนใหญ่มีหนี้สิน จำนวนหนี้สินของครัวเรือนน้อยกว่า 500,000 บาท ส่วนใหญ่กู้ยืมเพื่อซื้อที่ดิน/ที่อยู่อาศัย เป็นการกู้ยืมในระบบ ส่วนใหญ่มีบ้านเป็นของตนเองไม่ต้องผ่อนชำระ มีช่องทางการรับรู้ข่าวสารด้านการออมและการลงทุนมาจากอินเตอร์เนต/โซเชียลมีเดีย ส่วนใหญ่มีแรงจูงใจในการออมเพื่อเหตุฉุกเฉิน ครัวเรือนส่วนใหญ่มีความรู้พื้นฐานทางการเงินอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความรู้ด้านการบริหารความเสี่ยงมากกว่าด้านอื่น และครัวเรือนส่วนใหญ่มีสัดส่วนการออมต่อรายได้มากกว่าร้อยละ 20 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมของครัวเรือนได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่พึ่งพิง ประกอบด้วย เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้พิการ และจำนวนหนี้สินของครัวเรือน ดังนั้น แนวทางการเพิ่มความสามารถในการออมของครัวเรือน ควรส่งเสริมให้ครัวเรือนนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเก็บออมและสร้างวินัยในการออม และภาครัฐควรมีมาตรการทางด้านการคลังเพื่อช่วยลดรายจ่ายของครัวเรือนในการดูแลสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นผู้พึ่งพิงเพื่อเพิ่มความสามารถในการออมให้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ด้านการวางแผนทางการเงินเพื่อลดปัญหาภาระหนี้สินของครัวเรือน
ผู้วิจัยร่วม(Authors):
ไม่มี
ลิงค์ฐานข้อมูลที่เผยแพร่:
ไม่มีไฟล์
ข้อมูลหัวข้อการทำวิจัย (Project Infomation)
ประเภทงบประมาณ:
งบประมาณรายไดั
งบประมาณแผ่นดิน
ปีงบประมาณ:
2563
2567
2568
2569
2570
2571
2572
งบประมาณที่ได้รับ:
บาท
ระยะเวลาทำโครงการวิจัย:
ถึงวันที่
×
Logout
คุณต้องการออกจากใช่หรือไม่