BUS++
Toggle navigation
รายละเอียดงานวิจัย
ดร.ปรมินทร์ โฆษิตกุลพร
ดร.ปรมินทร์ โฆษิตกุลพร
ชื่องานวิจัย(Article thai):
ชื่องานวิจัย(Article english):
ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์(Journal thai):
ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์(Journal english):
บทคัดย่อ (Abstract):
การวิจัยเรื่อง ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนรายย่อยภายในประเทศผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากผู้ลงทุนมีทางเลือกที่สามารถนำเงินไปลงทุนผ่านหลักทรัพย์เพื่อสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าการนำเงินไปฝากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งนักลงทุนรายย่อยนั้นมีสัดส่วนและมูลค่าการซื้อขายสูงกว่าในนักลงทุนประเภทอื่นๆในตลาดหลักทรัพย์ นักลงทุนรายย่อยจึงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการลงทุนของตลาดหลักทรัพย์ในอนาคต ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนรายย่อยภายในประเทศผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูล ทุติยภูมิ แบบอนุกรมเวลารายเดือน ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2560 รวมเป็นระยะเวลา 72 เดือน ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณจาก สมการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณเชิงซ้อน (Multiple Linear Regression Analysis) ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares – OLS) ซึ่งปัจจัยทางเศรษฐกิจที่นำมาศึกษา จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนรายย่อยภายในประเทศผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ ราคาน้ำมัน (NYMEX) และ ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average) ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนดัชนีราคาหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนรายย่อยภายในประเทศผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001 ซึ่งเป็นไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate), อัตราเงินปันผลตลาดหลักทรัพย์ (Dividend Yield) และ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Business Sentiment Index) ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์ (Total Return Index) , อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) และอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate) เป็นตัวแปรที่ไม่ได้นำใช้คำนวณในสมการ เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับตัวแปรอิสระอื่นเกินกว่า 0.80 ทำให้เกิดปัญหา Multicollinearity คำสำคัญ: ตลาดหลักทรัพย์, ดัชนีราคาหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์, อัตราเงินเฟ้อ, ราคาน้ำมันดิบ, ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์, อัตราดอกเบี้ย, อัตราแลกเปลี่ยน, อัตราเงินปันผล, ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ, นักลงทุนรายย่อยในประเทศ หรือผู้ลงทุนภายในประเทศ
ผู้วิจัยร่วม(Authors):
1. ธัญญรัตน์ แสงสุริยาโรจน์ 2. ปรมินทร์ โฆษิตกุลพร 3. สมบัติ คชายุทธ
ลิงค์ฐานข้อมูลที่เผยแพร่:
ไม่มีไฟล์
ข้อมูลการเผยแพร่ (Journal Infomation)
เผยแพร่ระดับ:
ระดับชาติ_กลุ่ม2
ระดับชาติ (TCI)
ปีเผยแพร่:
2563
2568/2025
2567/2024
2566/2023
2565/2022
2564/2021
2563/2020
2562/2019
2561/2018
2560/2017
2559/2016
2558/2015
2557/2014
2556/2013
2555/2012
2554/2011
2553/2010
2552/2009
2551/2008
2550/2007
2549/2006
2548/2005
วันที่เผยแพร่:
วันที่ได้รัการอนุมัติ:
เลขที่ ISBN / ISSN / DOI:
ปีที่พิมพ์ - ฉบับที่ – หน้า:
×
Logout
คุณต้องการออกจากใช่หรือไม่