BUS++
Toggle navigation
รายละเอียดงานวิจัย
ดร. รพีพัฒน์ ศรีศิลารักษ์
ดร. รพีพัฒน์ ศรีศิลารักษ์
ชื่องานวิจัย(Article thai):
ชื่องานวิจัย(Article english):
ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์(Journal thai):
ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์(Journal english):
บทคัดย่อ (Abstract):
การสอบสวนเป็นขั้นตอนที่สำคัญของการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และเป็นเงื่อนไขในการฟ้องคดีของพนักงานอัยการ การสอบสวนคดีอาญาของพนักงานสอบสวนจึงมีผลต่อการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาเป็นอย่างมาก หากการสอบสวนกระทำด้วยความถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรมตามบทบัญญัติแล้ว ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์และผลดีต่อการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาในภาพรวมแต่จากการศึกษาพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคข้อขัดข้องหลายประการทั้งปัญหาทางด้านกฎหมายและปัญหาทางด้านอื่น ๆ ที่ทำให้การสอบสวนไม่เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว กรณีการสอบสวนที่ไม่ถูกต้อง ล่าช้าและไม่เป็นธรรม ปัญหาอาจเกิดจากการสอบสวนเองโดยลำพังของพนักงานสอบสวนเป็นเหตุให้ขาดการตรวจสอบและถ่วงดุลจากองค์กรอื่น การขาดการมีส่วนร่วมรวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานของตำรวจจากภาคประชาชน และการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์รวมไปถึงปัญหาค่าตอบแทนของพนักงานสอบสวนที่ไม่เหมาะสมกับภาระงาน ดังนั้นเพื่อให้การสอบสวนมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและรวดเร็ว ควรมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องดังกล่าวอันประกอบด้วยข้อเสนอแนะหลายประการ เช่น การกำหนดระเบียบหรือคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่วางแนวปฏิบัติให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนโดยถูกต้องรวดเร็วและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น การเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานสอบสวนหรือตำแหน่งอื่น ๆ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติควรเป็นไปด้วยความโปร่งใสตามระบบคุณธรรม รวมถึงการกำหนดมาตรการในการส่งเสริมสิทธิสวัสดิการ และความเจริญก้าวหน้าในอาชีพราชการของพนักงานสอบสวน ทั้งนี้เพื่อจุดมุ่งหมายในการสอบสวนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้อันจะทำให้การสอบสวนเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ช่วยอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนและสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคมสืบไป คำสำคัญ : ปัญหาและอุปสรรค การสอบสวน งานยุติธรรม The judicial investigation is a critical phase of the criminal justice system. The persons suspected then are under a condition to be taken into the prosecution process in court. The investigation can have a significant impact on the administration of justice. Overall, investigation procedures that are fairly and properly conducted and carried out in accordance with the relevant regulations will benefit the proper delivery of justice on the whole. However, the study reveals a number of overriding obstacles that become main barriers to the standard operating procedure for crime investigation. The nature of the dispute investigation process may occur from these following factors: the relevant officers working alone; the entire process is carried out without checks and balances by other institutions; absence of participatory monitoring of officials’ performance of their duties from the public sector commission; partial or incomplete evidence; and compensation unsuited for service in the field. Guidelines and recommendations to address the issues are as follows: firstly, the Royal Thai Police Headquarters should establish the Investigation Procedure Manual to serve as guidelines to assist related officers. Secondly, the merit-based principle and transparency measures should be applied for the recruitment of qualified candidates for investigation officer positions. Finally, measures to support increased welfare and career progression are recommended. Such implementation will promote official morale, ensuring that the judicial integrity alongside effective, fair and transparent investigation procedures will be enhanced at all times. Keyword : Problems and Impediments Inquiry Justice
ผู้วิจัยร่วม(Authors):
1.รพีพัฒน์ ศรีศิลารักษ์ 2.ธีระวัฒน์ จันทึก**
ลิงค์ฐานข้อมูลที่เผยแพร่:
ไม่มีไฟล์
ข้อมูลการเผยแพร่ (Journal Infomation)
เผยแพร่ระดับ:
ระดับชาติ_กลุ่ม1
ระดับชาติ (TCI)
ปีเผยแพร่:
2560
2568/2025
2567/2024
2566/2023
2565/2022
2564/2021
2563/2020
2562/2019
2561/2018
2560/2017
2559/2016
2558/2015
2557/2014
2556/2013
2555/2012
2554/2011
2553/2010
2552/2009
2551/2008
2550/2007
2549/2006
2548/2005
วันที่เผยแพร่:
วันที่ได้รัการอนุมัติ:
เลขที่ ISBN / ISSN / DOI:
ปีที่พิมพ์ - ฉบับที่ – หน้า:
×
Logout
คุณต้องการออกจากใช่หรือไม่